top of page

เกิดอะไรขึ้นกับตลาด E-Commerce หลัง JD Central โบกมือลาไทย มี.ค.นี้ ?



หลังจากที่ JD Central ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ E-Commerce ในไทย ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง Central Group และ JD.com บริษัท E-Commerce อันดับ 2 จากจีน ประกาศปิดตัวกิจการในไทยลง ซึ่งจะมีผลวันที่ 3 มีนาคมนี้ แน่นอนว่าข่าวใหญ่ระดับนี้ย่อมเป็นที่สนใจพร้อมตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นกับตลาด E-Commerce” เพราะหากมองเพียงผิวเผินก็จะเห็นว่า ธุรกิจ E-Commerce กำลังไปได้สวย แถม User ก็กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่เหรอ ?

.

แต่เอาเข้าจริง ๆ แล้วความเป็นจริงแทบจะสวนทางกันเลยทีเดียว เพราะหากเรามาดูสถิติย้อนหลังจะพบว่าธุรกิจ E-Commerce ในไทยไม่ว่าจะเป็น JD Central, Shopee หรือ Lazada ก็ล้วนแต่ขาดทุนยับมาโดยตลอด เห็นได้ชัดจากกรณีของ Shopee ที่มีการปรับลดขนาดองค์กรครั้งใหญ่ ทั้งปลดพนักงานในฝั่ง ShopeeFood และ ShopeePay ออกเป็นจำนวนมากในหลายประเทศ ตั้งแต่ ไต้หวัน บราซิล เม็กซิโก ชิลี โคลอมเบีย และโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงประเทศไทย เมื่อช่วงกลางปี 2022 ที่ผ่านมา เพื่อหวังจะลดต้นทุน และคาดหวังจะพลิกตัวเลขจากขาดทุนเป็นกำไรในปี 2023 นี้

.

นอกจากนี้ทาง JD Central เองก็ออกมาเปิดเผยว่า การตัดสินใจปิดตัวธุรกิจในไทยลงไม่ได้มาจากสาเหตุการขาดทุนสะสมเกือบ 6,000 ล้าน ตลอดเกือบ 6 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น พร้อมยังมองว่าธุรกิจ E-Commerce ต้องใช้ระยะเวลานานก่อนจะสามารถทำกำไรได้ และหากมองภาพรวมของตลาดค้าปลีกปัจจุบันที่มีมูลค่าถึง 200,000 บาท สัดส่วนของ E-Commerce ยังมีอยู่แค่ 5-6 % เท่านั้น ซึ่งการทำกำไรในธุรกิจนี้ จำเป็นจะต้องมีสัดส่วนมากกว่านี้ รวมไปถึงในไตรมาส 3 ปี 2564 ผู้คนก็เริ่มกลับมาใช้ชีวิตนอกบ้านกันมากขึ้น และสั่งซื้อของออนไลน์น้อยลง

.

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2023 นี้ ภาพรวมของตลาด E-Commerce ในแบบ B2C อาจขยายตัวราว 4 - 6% ซึ่งเรียกว่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมา ที่มีการขยายตัวเฉลี่ยถึง 26% ต่อปี

.

สิ่งนี้ยิ่งเหมือนตอกย้ำให้แน่ใจว่า “ใครสายป่านยาวไม่พอ คงอยู่ในธุรกิจ E-Commerce ไม่ไ่ด้” เพราะเหล่าผู้เล่นในธุรกิจนี้ในไทยต่างพากันขาดทุนยับเยิน เช่น Shopee ที่ยังคงขาดทุนต่อเนื่อง โดยปี 2018 - 2021 มีผลขาดทุนรวมกันเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ส่วน Lazada มีผลขาดทุนน้อยกว่า และสามารถทำกำไรได้แล้วในปี 2021 - 2022


bottom of page